สาขา งานวิจัย หน่วยวิจัย และผลงานวิจัย ของ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สาขาวิชาและงานวิจัย

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แบ่งสาขาวิชาและงานวิจัยออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

สาขาเคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry Division)

เป็นสาขาที่ว่าด้วยการวิเคราะห์ ทั้งในเชิงคุณภาพและในเชิงปริมาณ ภาควิชาเคมีมีงานวิจัยทางเคมีวิเคราะห์ อาทิ งานวิจัยทางด้านความปลอดภัยทางโภชนาการ การวิเคราะห์และติดตามสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม และการพัฒนากระบวนการวิเคราะห์สารในปริมาณน้อยที่มีอยู่ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[49]

สาขาเคมีอนินทรีย์ (Inorganic Chemistry Division)

เป็นการสังเคราะห์และศึกษาสมบัติทางกายภาพของสารอนินทรีย์ โดยภาควิชาเคมีมีงานวิจัยทางเคมีอนินทรีย์ อาทิ การศึกษาสารประกอบโคออร์ดิเนชัน (coordination compounds) รวมไปถึงสมบัติการจับโมเลกุลชีวภาพ การผลิตเซ็นเซอร์และโฟโตคะตะลิสต์ (photocatalyst) และการศึกษาปฏิกิริยาในอุตสาหกรรม เช่น ปฏิกิริยาฟิชเชอร์-โทรปช์ (Fischer-Tropsch synthesis)[50][51]

สาขาเคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry Division)

เป็นสาขาที่ศึกษาครอบคลุมเคมีของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ งานวิจัยของสาขาเคมีอินทรีย์ ได้แก่ การสกัดและแยกสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การสังเคราะห์สารที่มีความสำคัญทางการแพทย์โดยใช้วิธีการใหม่ ๆ นอกจากนี้ภาควิชาเคมียังมีงานวิจัยเชิงอินทรีย์เคมีชีวภาพ ซึ่งเป็นการศึกษาระบบทางชีวภาพโดยใช้ความรู้และกระบวนการทางเคมี เช่น การศึกษาปฏิกิริยาที่เร่งด้วยเอนไซม์ เป็นต้น[52]

สาขาเคมีอุตสาหกรรม (Industrial Chemistry Division)

เป็นหนึ่งในสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะงานวิจัยทางด้านแหล่งพลังงานทางเลือก งานวิจัยเกี่ยวกับยางธรรมชาติ สิ่งทอและสีย้อม พอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้โดยทางชีวภาพ และงานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์และอัญมณี[53]

สาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ (Physical Chemistry Division)

เป็นสาขาที่ว่าด้วยการอาศัยหลักการพื้นฐานทางฟิสิกส์มาอธิบายปรากฏการณ์ทางเคมี งานวิจัยสาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ของภาควิชาเคมีจะเน้นหนักไปทางการศึกษากลไลของปฏิกิริยาเคมีโดยใช้การคำนวณทางเคมีควอนตัม นอกจากนี้แล้วยังมีการสังเคราะห์ตัวเลขปฏิกิริยาประเภทต่าง ๆ และศึกษาแอคทิวิตี้ของตัวเลขปฏิกิริยานั้น ๆ รวมการทั้งสังเคราะห์วัสดุนาโน เช่น คาร์บอนนาโนทิวบ์ (carbon nanotube) และการปรับแต่งโครงสร้างระดับนาโนของคาร์บอนนาโนทิวบ์ นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างของยาเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้เคมีคำนวณ[54]

หน่วยวิจัย

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นอกจากห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ในสาขาวิชาต่าง ๆ ของภาควิชาเคมีแล้ว ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ความเป็นเลิศ ซึ่งประกอบไปด้วย

ศูนย์ความเป็นเลิศ (Centers of Excellence, COE)
  • ศูนย์นาโนเทคโนโลยี (The Center of Nanotechnology)

ศูนย์นาโนเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ศูนย์แห่งนี้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศนาโนเทคโนโลยีในด้านของการออกแบบและการจำลองวัสดุนาโน โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ประเทศไทย[55]

  • ศูนย์นวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC)
  • ศูนย์ความเป็นทางวิชาการด้านปาล์มน้ำมัน Center of Excellence-Oil Palm

และทางภาควิชาเคมียังประกอบไปด้วยห้องปฏิบัติการวิจัยเฉพาะด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย

ห้องปฏิบัติการวิจัยเฉพาะด้าน (Special Research Units, SRU)
  • ห้องปฏิบัติการเคมีคำนวณและเคมีประยุกต์ (Laboratory for Computational and Applied Chemistry, LCAC) - ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดยกลุ่มคณาจารย์และนักวิจัยในสาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ (Physical Chemistry) มีภารกิจในการศึกษาวิจัยกลไลของปฏิกิริยาเคมีโดยใช้การคำนวณทางเคมีควอนตัม การสังเคราะห์ตัวเลขปฏิกิริยาประเภทต่าง ๆ และศึกษาแอคทิวิตี้ของตัวเลขปฏิกิริยา สังเคราะห์วัสดุนาโนและปรับแต่งโครงสร้างระดับนาโนของคาร์บอนนาโนทิวบ์ สาขางานวิจัย ได้แก่[56][57]
    • Development and Application of Theoretical and Computational Methodologies
    • Catalysts and Supports
    • Carbon Nanostructures
    • Molecular Design of Bioactive Compounds
    • Ligand-Oriented Catalyst Design
  • ห้องปฏิบัติการวิจัยการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารปริมาณน้อย (Analytical Method Development in Trace Analysis) - ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2549 มีภารกิจในการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการและเซ็นเซอร์ในการวิเคราะห์สารในปริมาณน้อยที่มีอยู่ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาขางานวิจัย ได้แก่[58]
    • Chemical food and safety
    • Chlorination and monitoring of some pesticides in raw water
    • Photocatalysis of some pesticides
    • Sensors for analytes of agricultural and environmental interest
  • ห้องปฏิบัติการเคมีสารสนเทศ (Cheminformatics Research Unit, CRU) - ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548 มีภารกิจในการกำหนดทิศทางใหม่สำหรับการวิจัยทางเคมีด้วยวิธีการที่ปรับปรุงมาจากวิทยาการสารสนเทศ สาขางานวิจัย ได้แก่[59]
    • Molecular modeling
    • Molecular docking
    • Virtual screening
    • Drug design
    • Thai Herbal Repository Access Initiative
  • ห้องปฏิบัติการผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ (Natural Products and Organic Synthesis, NPOS) - ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 มีภารกิจเพื่อส่งเสริมการวิจัยการสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและการสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ รวมถึงฮอร์โมนสเตียรอยด์ การศึกษาปฏิกิริยาและการสังเคราะห์โดยใช้โลหะทรานซิชัน และยังทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในปัจจุบันและโรคไข้หวัดนก สาขางานวิจัย ได้แก่[60]
    • Natural Products
    • Synthesis of bioactive compounds
    • Total synthesis of active steroids
    • Study on reactions and synthesis of bioactive compounds using transition metals
    • Structure-Activity Relationships (SARs) and Quality Control (QC) of plants
  • ห้องปฏิบัติการเคมีคำนวณทางยา (Innovative Research on Drug Discovery and Molecular Design) - มีภารกิจในการวิจัยการค้นพบยาและการออกแบบโครงสร้างยา สาขางานวิจัย ได้แก่[61]
    • Drug Discovery, Computer-aided Drug Design, Protein modeling
    • Cheminformatics, Bioinformatics, ADMET, Polymer modeling

ผลงานวิจัย

International Journal Publications (Year 2010-2019)
(Last Updated : 2019)
Dept./Sch.Year 2010Year 2011Year 2012Year 2013Year 2014Year 2015Year 2016Year 2017Year 2018Year 2019
Chemistry85877585816968655360
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[62]
ประเภทจำนวน
จำนวนทรัพย์สินทางปัญญา
จากภาควิชาเคมี มก.
ลิขสิทธิ์4
สิทธิบัตร2
อนุสิทธิบัตร7
รวม13
ข้อมูลจาก สวพ.มก.[63]

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความสำคัญกับการแสวงหาและพัฒนาแนวคิดใหม่เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในระดับแนวหน้าทางด้านเคมี รวมทั้งมุ่งเน้นอย่างจริงจังในการจัดการกับปัญหาที่ต้องเผชิญกับทั้งสังคมไทยและสังคมโลก โดยได้พยายามทำการวิจัยในประเด็นยุทธศาสตร์และปัญหาระดับโลกและเล็งเป้าหมายหัวข้อวิจัยที่มีความสำคัญในอนาคต ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยจำนวนบทความกว่า 1,706 เรื่อง แบ่งเป็นตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ (International Journal Publications) และระดับชาติ (National Journal Publications) จำนวนกว่า 1,004 เรื่อง แบ่งเป็นบทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ (Conference) อีกจำนวน 702 เรื่อง ในประเด็นที่สำคัญดังกล่าว (ข้อมูลสถิติถึงปี 2562 จากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) และได้รับรางวัลการวิจัยทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติหลายรายการ นอกจากนี้ยังมีทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) จำนวน 13 รายการ แบ่งเป็นประเภทลิขสิทธิ์ (Copyright) จำนวน 4 รายการ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2555, 2552, 2551, 2549) สิทธิบัตร (Patent) จำนวน 2 รายการ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2554, 2549) และอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) อีกจำนวน 7 รายการ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2558, 2554, 2551, 2550, 2548) ทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความพยายามในการจัดการกับความท้าทายที่สังคมมนุษย์ต้องเผชิญ

นอกจากนี้แล้ว ภาควิชาเคมียังส่งเสริมการสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับความร่วมมือด้านการวิจัยระดับโลก โดยการส่งนิสิตเข้าทำวิจัยระยะสั้นยังมหาวิทยาลัยต่างประเทศ รวมทั้งเปิดหลักสูตรเคมี (นานาชาติ) ด้วย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.alquimicos.com/oq_reg/internacionales/i... http://maps.google.com/maps?ll=13.8454802,100.5714... http://www.hiclasssociety.com/hiclass/detailconten... http://ptg.listedcompany.com/misc/PRESN/20180425-p... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.8454... http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/inst... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://chemistryolympiad.weebly.com/uploads/8/2/4/... http://www.globalguide.org?lat=13.8454802&long=100... http://ku-alumni.org/download/student.pdf